...

Welcome To My Blog

I'm Yaovaluck Guntip

ID : 521463091

Section : AC

...

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Lab TCP/IP

คำสั่ง ipconfig
คำสั่ง ipconfig เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับเรียกดูหมายเลข IP Address ของเครื่องที่เราใช้งานอยู่ ซึ่งถ้าหากเราไม่ทราบว่าหมายเลข IP Address ของเครื่องที่เราใช้งานอยู่นั้นเป็นหมายเลขอะไรหรือมีรายละเอียดอะไรที่เกี่ยวข้องกับหมายเลข IP Address บ้าง ก็สามารถใช้คำสั่งนี้เรียกดูผ่านหน้าต่าง Command Prompt ได้
และการใช้ /all คือแสดงรายละเอียดทั้งหมด

คำสั่ง ping
คำสั่ง Ping เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบการเชื่อมต่อกับเครือข่ายระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่อยู่ในเครือข่าย โดยคำสั่ง Ping จะส่งข้อมูลที่เป็นแพ็คเกจ 4 ชุดๆละ 32 Byte ไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ต้องการตรวจสอบ หากมีการตอบรับกลับมาจากคอมพิวเตอร์เป้าหมายก็แสดงว่าการเชื่อมต่อเครือข่ายยังเป็นปกติ แต่หากไม่มีการตอบรับกลับมาก็แสดงว่าคอมพิวเตอร์ปลายทางหรือเครือข่ายอยู่ในช่วงหนาแน่น

คำสั่ง arp
คำสั่ง arp เป็นคำสั่งค้นหาเครื่อง host ที่ตรงกับ IPAdress ที่ต้องการค้นหา ถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งในระบบทราบว่ามี IPAdressที่ตรงกันก็จะตอบกลับมาที่ arp

คำสั่ง netstat
เป็นคำสั่งที่ใช้ตรวจสอบ Network เกี่ยวกับการเชื่อมต่อ Port ในเครื่องเรากับเครื่องอื่นใน Network ว่าเครื่องที่เราใช้งานมีการเชื่อมต่อใดบ้าง และจะมีการบอกสถานการณ์เชื่อมต่อนั้นว่ายังมีการ active อยู่หรือไม่

คำสั่ง tracert
การใช้คำสั่ง tracert จะมีลักษณะการใช้งานคล้ายกับการ ping แต่แตกต่างกันตรงที่ ผลลัพธ์ที่แสดงออกมาจะเป็นเส้นทางที่ใช้ไปยังสถานที่นั้น ว่าได้ผ่านไปที่ใดบ้าง จนกว่าจะถึงสถานที่นั้น มีประโยชน์มากในกรณีที่วงจรสื่อสารเกิดความขัดข้อง เราสามารถทดสอบดูว่าเกิดความขัดข้องที่จุดไหนนั่นเอง

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. การสื่อสารข้อมูล หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้รับและผู้ส่งโดยผ่าน ช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับ เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน

2. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ข้างเคียงต่าง ๆ มาเชื่อมต่อถึงกันโดยใช้สายเคเบิ้ลเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนชุดข้อมูล ชุดคำสั่ง และข่าวสารต่าง ๆ ระหว่างคอมพิวเตอร์ กับ คอมพิวเตอร์และระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ข้างเคียง สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม

3. การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 อย่าง ได้แก่
1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ คือ ข้อความ ตัวเลข รูปภาพ เสียง วิดีโอ
5. โปรโตคอล (Protocol)


4. Protocol คืออะไร
คือระเบียบพิธีการในการติดต่อสื่อสาร เมื่อมาใช้กับเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม จึงหมายถึงขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึง กฎ ระเบียบ และข้อกำหนดต่าง ๆ รวมถึงมาตรฐานที่ใช้ เพื่อให้ตัวรับและตัวส่งสามารถดำเนินกิจกรรมทางด้านการสื่อสาร

5. Topology คืออะไร
โทโปโลยี คือ ลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง
รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้
1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS)
2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)
3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR)
4.โทโปโลยีแบบ Hybrid
5.โทโปโลยีแบบ MESH

ระบบปฏิบัติการ MS-DOS และ Linux

ระบบปฏิบัติการ MS-DOS

MS-DOS เป็นระบบปฏิบัติการตัวหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ IBM หรือเครื่องเลียนแบบ

โครงสร้างภายในของ MS-DOS
MS-DOS ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน คือ
1. ส่วนที่จัดการเกี่ยวกับคำสั่ง
2. ส่วนที่ควบคุมการจัดไฟล์
3. ส่วนที่ติดต่อกับอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูล

โปรแกรมทั้ง 3 ส่วนนี้จะร่วมกันควบคุมระบบไมโครคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ซึ่งในระบบของ MS-DOS นี้ โปรแกรมเหล่านี้ จะได้แก่ COMMAND.COM, MSDOS.SYS และ IO.SYS โดยที่ MSDOS.SYS และ IO.SYS นั้นจะเป็นโปรแกรมที่ถูกซ่อนไว้ภายในระบบ หน้าที่ของแต่ละโปรแกรมมีดังต่อไปนี้
- MSDOS.SYS
ทำหน้าที่ควบคุมการจัดการไฟล์บนดิสก์ ซึ่งส่วนนี้จะไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ของเครื่อง โปรแกรมนี้จะประกอบด้วยโปรแกรมย่อย ๆ ที่ทำหน้าที่พื้นฐาน เช่น รับตัวอักษรที่ผ่านเข้ามาทางแป้นพิมพ์หรือแสดงตัวอักษรบนจอภาพ
- IO.SYS
ทำหน้าที่ควบคุมฮาร์ดแวร์ของเครื่องโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์รอบข้าง เช่น แป้นพิมพ์, จอภาพ หรือเครื่องพิมพ์
- COMMAND.COM
เป็นที่เก็บคำสั่งภายในของระบบดอส และทำหน้าที่ในการวิเคราะห์คำสั่งที่ถูกพิมพ์เข้ามาทางแป้นพิมพ์ แล้วทำการแปลความหมายเพื่อทำการเรียกใช้คำสั่งนั้น ๆ อีกทีหนึ่ง


คำสั่งในระบบดอส จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. คำสั่งภายใน(Internal Command)
หมายถึง คำสั่งที่ถูกบรรจุอยู่ในระบบดอสแล้ว เมื่อเราเข้าสู่ระบบดอสแล้ว จะสามารถเรียกใช้คำสั่งเหล่านี้ได้ทันที
2. คำสั่งภายนอก(External Command)
หมายถึง คำสั่งของดอสที่ถูกเก็บไว้เป็นไฟล์ในดิสก์ เช่นเดียวกับไฟล์โปรแกรมอื่น ๆ เมื่อเราเรียกใช้คำสั่งเหล่านี้ ดอสจะต้องไปหาไฟล์ที่มีชื่อตรงกับคำสั่งที่เราพิมพ์ทุกครั้ง


ระบบปฏิบัติการ Linux

ระบบปฏิบัติการ (Operating System) คือ กลุ่มของคำสั่งที่ร่วมกันทำงาน เพื่อควบคุมการทำงานของ Hardware และ software Applucation อื่นๆ ของคอมพิวเตอร์ เราอาจจะแบ่ง OS ตามลักษณะการใช้งานออกเป็น 2 จำพวกคือ
1.Single-User เป็น OS ที่ในขณะใดขณะหนึ่งจะให้บริการแก้ผู้ใช้เพียงคนเดียว เป็นระบบปฏิบัติการขนาดเล็ก สะดวกในการควบคุมการทำงาน เช่น DOS Windows95/98 ฯลฯ
2.Multi-User เป็น OS ที่ให้ผู้ใช้มากกว่าหนึ่งคนเข้าทำงานได้พร้อม ๆ กัน โดยการต่อออกเป็น terminal ย่อยๆ ใช้กับระบบขนาดใหญ่ เป็น OS ที่ไม่ยึดติดกับระบบเครื่องระบบใดระบบหนึ่ง เป็น OS ที่เป็น Multi-user และ Multi-tasking เช่น Unix , Novell , Linux , SunOS ฯลฯ


คำสั่ง Linux พื้นฐาน เช่น
Uname การแสดงรายละเอียดของเครื่อง
Pwd แสดงตำแหน่งปัจจุบัน
Ls แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเร็คทอรี่ ในรูปแบบต่างๆ
Cd คือการ access เข้าไปยังไดเร็คทอรี่
cd .. การถอยออกจากไดเร็คทอรี่ที่อยู่ปัจจุบัน หนึ่งไดเร็คทอรี่
tty การแสดงหน้าจอที่กำลังใช้งานอยู่
whoami แสดงว่าตัวเองเป็น user อะไร
cp การสำเนาไฟล์
mv การย้ายไฟล์
mkdir การสร้างไดเร็คทอรี่
touch การสร้างไฟล์
rm การลบไฟล์
rmdir การลบไดเร็คทอรี่
history การแสดงคำสั่งที่เราได้ใช้ไปแล้ว
man เป็นการขอตัวช่วยหรือเป็นการดูเอกสารของคำสั่งนั้นๆ
reboot การ restart เครื่อง
init 0 การปิดเครื่อง
date การแสดงวัน
cal การแสดงปฏิทิน
finger การแสดงรายชื่อ user ที่กำลังอยู่ในระบบขณะนี้
exit การออกจาก shell ปัจจุบัน
fdisk การจัดการเกี่ยวกับ partition
cat เป็นการดูเนื้อหาของไฟล์ที่ต้องการเช่น cat /etc/passwd
find เป็นการค้นหาไฟล์
grep เป็นคำสั่งในการหาข้อความในบรรทัด
gzip เป็นการลดขนาดไฟล์
gunzip เป็นการยกเลิกการลดขนาดไฟล์
chmod เป็นการกำหนดค่าที่เซตใน Owner-Group-Other
chown เป็นการเปลี่ยนมือเจ้าของ
chgrp เป็นการเปลี่ยนกลุ่ม
mount เป็นคำสั่งที่เมาท์อุปกรณ์ หรือพาร์ติชั่น
โดยมีรูปแบบดังนี้ mount options device directory
umount เป็นการยกเลิกการเมาท์
fsck เป็นการตรวจสอบไฟล์ หรือย่อจาก File System Checking
df เป็นคำสั่งที่ดูเนื้อที่ว่างบนระบบไฟล์ที่เมาท์
du เป็นการดูเนื้อที่ว่างบนไดเรคทรอรี่ที่ใช้อยู่
ps แสดงงานที่เปิดอยู่ หรือกระบวนการที่ทำงาน
kill เป็นคำสั่งที่ยกเลิกการทำงานของกระบวนการ
logout เป็นคำสั่งที่ออกจากระบบ ใช้ได้ต่อเมื่ออยู่ใน Shell
free เป็นการแสดงสถานะของเมมโมรี่ และเนื้อที่ว่างบนเมมโมรี่ ทั้งกายภาพ
ที่ใช้ ใน swap, และบัฟเฟอร์
mke2fs เป็นคำสั่งฟอร์แมตดิสก์พร้อมใส่ระบบไฟล์ไปด้วย
lpr เป็นการส่งงานพิมพ์จากเครื่องลูกข่าย
top เป็นคำสั่ง Monitor System

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สรุป Networking Animations

1. No network ระบบ network คือการที่นำเครื่อง computerหลายๆเครื่อง มาเชื่อมต่อกันเพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น 1) การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ร่วมกัน กล่าวคือ มีเครื่องพิมพ์เพียงเครื่องเดียว ทุกคนในเครือข่ายสามารถใช้เครื่องพิมพ์นี้ได้ แต่ถ้าไม่มีระบบnetwork ก็จะต้องเสียงบประมาณในการซื้อเครื่องพิมพ์เพราะต้องใช้เครื่องพิมพ์คนละเครื่อง 2) การแชร์ไฟล์ เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกติดตั้งเป็นระบบเน็ตเวิร์กแล้ว การใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แต่ถ้าไม่มีเระบบ network ก็จะทำให้เสียเวลาในการแลกเปลี่ยนไฟล์ เพราะจะต้องให้บุคคลากรเป็นคนเดินไปแลกเปลี่ยนไฟล์กันเอาเอง

2. HUB HUB ทำงานโดย การได้รับ ข้อมูลมาแล้ว ส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องที่ต่อกับฮับตัวนี้อยู่ โดยไม่สนใจเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น ประมาณว่า ฮับ รับมาแล้วส่งต่อไป ทุกๆ เครื่อง แม้เครื่องนั้นๆ จะไม่เกี่ยวข้องก็ตาม

3. Switch Switch เป็นอุปกรณ์ ที่พัฒนามาจากฮับ พอติดตั้งเสร็จครั้งแรก และมีการใช้งาน ในครั้งแรก สวิช จะจำการจดจำ Mac address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รับข้อมูลไว้ เมื่อมีการส่งข้อมูลครั้งต่อไป สวิช จะทำการส่ง ข้อมูลไปยัง mac address ที่ระบุมาเท่านั้น เครื่องไหน ที่ไม่เกี่ยวข้อง ก็จะไม่ได้รับข้อมูล

4. Switched Network With No Server
แสดงภาพเคลื่อนไหวระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องพิมพ์ที่เชื่อมต่อกันในเครือข่าย โดยที่ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนทรัพยากรกันในเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ไม่ไก้มีเครื่องเซอร์เวอร์เป็นตัวจัดเก็บข้อมูลส่วนกลาง

5. Switched Network With Server
แสดงประโยชน์ของการเชื่อมต่อเครื่องเซอร์เวอร์โดยที่ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลได้จากคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย

6. Adding Switches
สาธิตวิธีการเปลี่ยนเครือข่าย ถ้าไม่มีพอร์ตที่ว่างอยู่ เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์หรือเครื่องพิมพ์เครือข่าย

7. The Address Resolution Protocol (ARP) เป็นโปรโตคอลสำหรับการจับคู่ (map) ระหว่าง Internet Protocol address (IP address) กับตำแหน่งของอุปกรณ์ในระบบเครือข่าย โดย เมื่อแพ็คเกตนำเข้าที่ระบุเครื่อง host ในระบบเครือข่ายมาถึง Gateway เครื่องที่ Gateway จะเรียกโปรแกรม ARP ให้หาเครื่อง host หรือ MAC address ที่ตรงกับ IP address โปรแกรม ARP จะหาใน ARP cache เมื่อพบแล้วจะแปลงแพ็คเกต เป็นแพ็คเกตที่มีความ ยาวและรูปแบบที่ถูกต้อง เพื่อส่งไปยังเครื่องที่ระบุไว้ แต่ถ้าไม่พบ ARP จะกระจาย แพ็คเกตในรูปแบบพิเศษ ไปยังเครื่องทุกเครื่องในระบบ และถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งทราบว่ามี IP address ตรงกันก็จะตอบกลับมาที่ ARP โปรแกรม ARP จะปรับปรุง ARP cache และส่งแพ็คเกตไปยัง MAC address หรือเครื่องที่ตอบมา เนื่องจากแต่ละโปรโตคอลมีรายละเอียดที่แตกต่างกันตามประเภทของ LAN ดังนั้นจึงมี การแยก ARP Request for Comments ตามประเภทของโปรโตคอล
8. ARP with Multiple Networks
ถ้า ARPไม่ได้อยุ่ในเครือข่ายเดียวกัน โดยที่มีเราท์เตอร์ เป็นตัวเชื่อในการแปลงข้อมูลเพิ่มเข้าไปในที่อยุ่ในอีกเครือข่าย

9. Dynamic Host Configuration Protoco (DHCP)Dynamic Host Configuration Protocol ซึ่งทำหน้าที่จ่าย IP ให้แก่เครื่องลูก (clients) โดยอัตโนมัติ สำหรับเน็ตเวอร์ที่มีเครื่องลูกหลายเครื่อง การกำหนด IP ให้แต่ละเครื่องบางครั้งก็ยากในการจดจำ ว่ากำหนด IP ให้ไปเป็นเบอร์อะไรบ้างแล้ว พอมีเครื่องเพิ่มเข้ามาในเน็ตเวอร์กใหม่ ต้องกลับไปค้น เพื่อจะ assign เบอร์ IP ใหม่ไม่ให้ซ้ำกับเบอร์เดิม DHCP Server จะทำหน้าที่นี้แทน โดยเครื่องลูกเครื่องไหนเปิดเครื่อง ก็จะขอ IP มายัง DHCP Server และ DHCP Server ก็จะกำหนด IP ไปให้เครื่องลูกเอง โดยไม่ซ้ำกัน

10. Routing and Forwarding
จะแสดงขั้นตอนพื้นฐานตามเราเตอร์ส่งแพ็คเก็ตจากเครือข่ายอื่นๆ

11. IP Subnetsการแบ่ง IP
เป็นหลักการในการทำงานทั่วไปเพื่อการทำงานที่หลากหลายงานหลายเครื่องคอมพิวเตอร์ทำให้ง่ายต่อการทำงาน แต่จะต้องอาศัยเราท์เคอร์ ในการแบ่ง IP

12. TCP Connections
เป็นโปรโตคอลการขนส่งเชื่อมต่อ oriented ในระหว่างการ ส่ง และ การรับ

13. TCP Multiplexing
จะใช้หมายเลขพอร์ตเพื่อระบุปลายทางและกระบวนการมาในเครือข่ายการเชื่อมต่อใดๆ ลดขั้นตอนต่างๆไปได้

14. TCP Buffering and Sequencing
จะ ใช้ บัฟเฟอร์ สำหรับ การ ส่ง และ รับ การ เชื่อม ต่อ แต่ละBuffer ผู้ส่งที่ต้องการส่งข้อมูลที่ยังไม่พร้อมส่ง TCP sequencing เป็นการสนับสนุนของแพ็คเก็ตเพื่อให้สามารถสั่งใหม่และตรวจสอบการทำซ้ำ

15. User Datagram Protocol (UDP)
ช่วยให้กระบวนการให้บริการการสื่อสารโดยการเพิ่มระดับของ กว่าพื้นฐานโปรโตคอลเส้นทาง IP ดังนั้น UDP สามารถสมัครหลายอันในแต่ละโฮสต์ เช่น TCP, UDP จะใช้หมายเลขพอร์ตเพื่อระบุที่มาและกระบวนการตามเป้าหมายแต่ UDP ไม่มีคุณสมบัติ เช่นการเชื่อมต่อ ลำดับการควบคุมการถ่ายข้อมูลและการควบคุมความแออัด

16. IP Fragmentation
จะแยกส่วนเป็นส่วนเล็กๆในเราเตอร์ ถ้าจะส่งผ่านทางเครือข่ายที่มี MTU ที่มีขนาดเล็กกว่า datagram IP ชิ้นส่วนทั้งหมดที่อยู่ในที่เดียวกัน

17. Switch Congestion
ถ้าแพคเก็ตกำหนดไว้สำหรับพอร์ตหนึ่งนั้นการมาถึงจะมาเร็วกว่าการสวิตช์ หรืออีกอย่างเราท์เตอร์สามารถส่งข้อมูลออกไปหรือเก็บข้อมูลไว้ได้

18. TCP Flow Control
TCP กับ bytes รับและส่งไปประยุกต์เป็นกระแสไบต์ จำนวนไบต์ในส่วน TCP จะไม่กำหนดโดยขอบเขตบ จำนวนข้อมูล bytes TCP ส่งไปยังเครือข่ายจะพิจารณาจากเครือข่ายต้นทาง MTU (Maximum Transmission Unit)

19. Internet Access
เครือ ข่าย ท้องถิ่น จะ ไม่ อนุญาต ให้ ผู้ ใช้ เข้าถึง อินเทอร์เน็ต เรา เตอร์ นอกจาก จะ ใช้ เพื่อ เชื่อม ต่อ เครือ ข่าย ไป ยัง ISP

20. Email Protocols (โปรโตคอล Email)
อีเมล์ คือ โปรแกรมที่พบบ่อยในอินเทอร์เน็ต โปรโตคอลนี้ทำงานบน TCP ในที่นี้คุณจะได้เรียนรู้โปรโตคอลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเขียนและส่งอีเมล์

21. Wireless Network and Multiple Access with Collision Avoidance(เครือข่ายไร้สายแบบหลาย Access กับการหลีกเลี่ยงการชน )
IEEE 802.11standard สำหรับเครือข่ายไร้สายการส่ง ภาพในสถานการณ์ต่างๆชัดเจนให้จะใช้การส่งแบบ (RTS) และ (CTS) เพื่อลด collisions RTS และ CTS มีประโยชน์มากในการแก้โหนดที่ซ่อนไว้และนำปัญหาโหนดในเครือข่ายไร้สาย การแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ส่งและรับ RTS และ CTS จะแจ้งสถานีใกล้เคียงที่กำลังเริ่มส่งข้อมูลระยะเวลาใน RTS / CTS เฟรมใช้ในการกำหนดเวกเตอร์การจัดสรรเครือข่าย (NAV) ในสถานีทั้งหมดที่อยู่ในช่วงรับของ RTS / เฟรม CTS

22. Virtual Private Network (VPN)
เครือข่ายส่วนตัวเสมือน (VPN) เป็นเทคนิคที่ใช้ IP เสมือนการสร้างการเชื่อมต่อส่วนตัวภายในเครือข่ายสาธารณะ เช่น Internet การประยุกต์ใช้ VPN คือการปรับใช้โปรโตคอลใหม่กว่าที่มีอยู่โดยไม่ต้องอัพเกรดเครือข่ายทั้งหมด (เช่น IPv6 ผ่าน IPv4) เพื่อให้เชื่อมต่องานอื่นที่ปลอดภัยโดยการเข้ารหัสแพ็คเก็ต IP encapsulated

23. Public Key Encryption
การเข้ารหัสแปลงข้อความโดยใช้กุญแจลับเพื่อไม่ให้ผู้บุกรุกสามารถดัดแปลงข้อมูลได้ถ้าไม่มีกุญแจลับ การเข้ารหัสคีย์สาธารณะจะใช้คีย์คู่สำหรับการเข้ารหัสและถอดรหัสที่แตกต่างกัน ผู้เข้าร่วมทุกคนเป็นเจ้าของ สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือบุคคลสำคัญที่ใช้เฉพาะเจ้าของที่จะถอดรหัสข้อความ คีย์อื่นๆเรียกว่าคีย์สาธารณะและมีการใช้สำหรับการเข้ารหัส ส่งออกคีย์สาธารณะนี้ทุกคนที่ต้องการเข้ารหัสข้อความสำหรับเจ้าของ

24. Firewalls (ไฟร์วอลล์)
ไฟร์วอลล์ที่ใช้ป้องกันเว็บไซต์ส่วนตัวจากการเข้าถึงโดยผู้ใช้สาธารณะ นอกจากไฟร์วอลล์จะต้องเชื่อมต่อเฉพาะเว็บไซต์ส่วนตัว ในไฟร์วอลล์มีการกำหนดกฎโดยผู้ดูแลระบบเครือข่ายของไซต์เอกชน กฎเหล่านี้ให้ไฟร์วอลล์เพื่อระบุการเข้าชมเครือข่ายที่สามารถส่งต่อและปริมาณที่ควรจะกรอง

25. Stop-and-Wait ARQ (หยุด-และ-รอ ARQ)
เป็นเทคนิคคำขอซ้ำอัตโนมัติ ในการส่ง ผู้ส่งจะต้องหยุดและรอส่งข้อมูล และจะรอจนกระทั่งได้รับ ACK (แจ้ง) จากการรับก่อนที่จะส่งเฟรมถัดไป ชุดส่งที่เรียกว่า หมดเวลา คือ ถ้าผู้ส่งไม่ได้รับ ACK ก่อนหมดเวลาที่ส่ง retransmits กรอบเดียวกันอีกครั้ง

26. Go-Back-N ARQ
เป็นเทคนิคคำขอแบบARQ ซ้ำอัตโนมัติ ผู้ส่งส่งจำนวนเฟรมที่กำหนดโดยขนาดของหน้าต่างได้โดยไม่ต้องรอ ACK บุคคลจากรับในหยุดและรอรับรวมกับ ACK หมายเลขถัดแต่ละลำดับของกรอบคาดสั่งภาพ รับมองข้ามใดๆ ขนาดหน้าต่างที่ผู้ส่ง shrinks กับกรอบส่งทุกเพิ่มขึ้นด้วย ACK ได้รับถ้าผู้ส่งไม่ได้รับ ACK สำหรับกรอบหลังจากหมดเวลาให้ผู้ส่งจะกลับไปและส่งอีกครั้งภาพทั้งหมดเริ่มจากกรอบที่

27. Selective Repeat ARQ
เทคนิคคำขอแบบ (ARQ) ซ้ำอัตโนมัติ เป็นหนึ่งในการส่ง เลือกซ้ำกับผู้ส่งจำนวนเฟรมที่กำหนดโดยขนาดของหน้าต่างได้โดยไม่ต้องรอ ACK จากบุคคลรับในการหยุดและรอรับแต่ส่ง ACK สำหรับเฟรมแต่ละบุคคลซึ่งไม่ต้องการ ACK กลับไป ยอมรับภาพที่บัฟเฟอร์

28. The OSI model
Open Systems Interconnection (OSI) เป็นพิมพ์เขียวทั่วไปที่ชี้แนะความเข้าใจและการออกแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ฟังก์ชันการทำงานเป็นพาร์ทิชันเครือข่ายเป็นเจ็ดชั้น Layering ผลวิธีการในการออกแบบ modular มากกว่าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ลงในส่วนจัดการ

29. Peer-to-peer (P2P) Computer Network
ลูกค้าในเครือข่ายเซิร์ฟเวอร์แตกต่างจากในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ P2P ทุก peers เท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละหน้าที่พร้อมกันเป็นทั้งลูกค้าและเซิร์ฟเวอร์ ลักษณะการกระจายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ P2P ช่วยให้เข้าร่วมในทรัพยากรร่วมกัน เช่น แบนด์วิธพื้นที่จัดเก็บและพลังงานคอมพิวเตอร์

30. Ad-Hoc Network
Ad-Hoc Network แตกต่างจากเครือข่ายไร้สายบริหาร Ad-Hoc Network เป็นเครือข่ายไร้สายที่ไม่ต้องการจุดเชื่อมในการจัดการการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ของ คอมพิวเตอร์แต่ละใน Ad-Hoc Network สามารถส่งข้อมูลระหว่างคู่อื่นๆคอมพิวเตอร์ (คือสามารถกระทำ เช่น เราเตอร์) คอมพิวเตอร์ที่สามารถเข้าร่วมและออกจากการ Ad-Hoc Network แบบไดนามิก ดังนั้นเส้นทางในการส่งข้อมูลจากผู้ส่งที่จะรับพิจารณาตามการเชื่อมต่อเครือข่าย ความล้มเหลวหรือออกของเครื่องคอมพิวเตอร์ตามเส้นทางดังกล่าวจะทำให้อัตโนมัติ rerouting ข้อมูล ดังนั้น Ad-Hoc Network มีภูมิคุ้มกันต่อจุดเดียวของความล้มเหลวต่างจากความล้มเหลวของจุดเชื่อมในเครือข่ายไร้สายบริหาร