...

Welcome To My Blog

I'm Yaovaluck Guntip

ID : 521463091

Section : AC

...

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ระบบปฏิบัติการ MS-DOS และ Linux

ระบบปฏิบัติการ MS-DOS

MS-DOS เป็นระบบปฏิบัติการตัวหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ IBM หรือเครื่องเลียนแบบ

โครงสร้างภายในของ MS-DOS
MS-DOS ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน คือ
1. ส่วนที่จัดการเกี่ยวกับคำสั่ง
2. ส่วนที่ควบคุมการจัดไฟล์
3. ส่วนที่ติดต่อกับอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูล

โปรแกรมทั้ง 3 ส่วนนี้จะร่วมกันควบคุมระบบไมโครคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ซึ่งในระบบของ MS-DOS นี้ โปรแกรมเหล่านี้ จะได้แก่ COMMAND.COM, MSDOS.SYS และ IO.SYS โดยที่ MSDOS.SYS และ IO.SYS นั้นจะเป็นโปรแกรมที่ถูกซ่อนไว้ภายในระบบ หน้าที่ของแต่ละโปรแกรมมีดังต่อไปนี้
- MSDOS.SYS
ทำหน้าที่ควบคุมการจัดการไฟล์บนดิสก์ ซึ่งส่วนนี้จะไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ของเครื่อง โปรแกรมนี้จะประกอบด้วยโปรแกรมย่อย ๆ ที่ทำหน้าที่พื้นฐาน เช่น รับตัวอักษรที่ผ่านเข้ามาทางแป้นพิมพ์หรือแสดงตัวอักษรบนจอภาพ
- IO.SYS
ทำหน้าที่ควบคุมฮาร์ดแวร์ของเครื่องโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์รอบข้าง เช่น แป้นพิมพ์, จอภาพ หรือเครื่องพิมพ์
- COMMAND.COM
เป็นที่เก็บคำสั่งภายในของระบบดอส และทำหน้าที่ในการวิเคราะห์คำสั่งที่ถูกพิมพ์เข้ามาทางแป้นพิมพ์ แล้วทำการแปลความหมายเพื่อทำการเรียกใช้คำสั่งนั้น ๆ อีกทีหนึ่ง


คำสั่งในระบบดอส จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. คำสั่งภายใน(Internal Command)
หมายถึง คำสั่งที่ถูกบรรจุอยู่ในระบบดอสแล้ว เมื่อเราเข้าสู่ระบบดอสแล้ว จะสามารถเรียกใช้คำสั่งเหล่านี้ได้ทันที
2. คำสั่งภายนอก(External Command)
หมายถึง คำสั่งของดอสที่ถูกเก็บไว้เป็นไฟล์ในดิสก์ เช่นเดียวกับไฟล์โปรแกรมอื่น ๆ เมื่อเราเรียกใช้คำสั่งเหล่านี้ ดอสจะต้องไปหาไฟล์ที่มีชื่อตรงกับคำสั่งที่เราพิมพ์ทุกครั้ง


ระบบปฏิบัติการ Linux

ระบบปฏิบัติการ (Operating System) คือ กลุ่มของคำสั่งที่ร่วมกันทำงาน เพื่อควบคุมการทำงานของ Hardware และ software Applucation อื่นๆ ของคอมพิวเตอร์ เราอาจจะแบ่ง OS ตามลักษณะการใช้งานออกเป็น 2 จำพวกคือ
1.Single-User เป็น OS ที่ในขณะใดขณะหนึ่งจะให้บริการแก้ผู้ใช้เพียงคนเดียว เป็นระบบปฏิบัติการขนาดเล็ก สะดวกในการควบคุมการทำงาน เช่น DOS Windows95/98 ฯลฯ
2.Multi-User เป็น OS ที่ให้ผู้ใช้มากกว่าหนึ่งคนเข้าทำงานได้พร้อม ๆ กัน โดยการต่อออกเป็น terminal ย่อยๆ ใช้กับระบบขนาดใหญ่ เป็น OS ที่ไม่ยึดติดกับระบบเครื่องระบบใดระบบหนึ่ง เป็น OS ที่เป็น Multi-user และ Multi-tasking เช่น Unix , Novell , Linux , SunOS ฯลฯ


คำสั่ง Linux พื้นฐาน เช่น
Uname การแสดงรายละเอียดของเครื่อง
Pwd แสดงตำแหน่งปัจจุบัน
Ls แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเร็คทอรี่ ในรูปแบบต่างๆ
Cd คือการ access เข้าไปยังไดเร็คทอรี่
cd .. การถอยออกจากไดเร็คทอรี่ที่อยู่ปัจจุบัน หนึ่งไดเร็คทอรี่
tty การแสดงหน้าจอที่กำลังใช้งานอยู่
whoami แสดงว่าตัวเองเป็น user อะไร
cp การสำเนาไฟล์
mv การย้ายไฟล์
mkdir การสร้างไดเร็คทอรี่
touch การสร้างไฟล์
rm การลบไฟล์
rmdir การลบไดเร็คทอรี่
history การแสดงคำสั่งที่เราได้ใช้ไปแล้ว
man เป็นการขอตัวช่วยหรือเป็นการดูเอกสารของคำสั่งนั้นๆ
reboot การ restart เครื่อง
init 0 การปิดเครื่อง
date การแสดงวัน
cal การแสดงปฏิทิน
finger การแสดงรายชื่อ user ที่กำลังอยู่ในระบบขณะนี้
exit การออกจาก shell ปัจจุบัน
fdisk การจัดการเกี่ยวกับ partition
cat เป็นการดูเนื้อหาของไฟล์ที่ต้องการเช่น cat /etc/passwd
find เป็นการค้นหาไฟล์
grep เป็นคำสั่งในการหาข้อความในบรรทัด
gzip เป็นการลดขนาดไฟล์
gunzip เป็นการยกเลิกการลดขนาดไฟล์
chmod เป็นการกำหนดค่าที่เซตใน Owner-Group-Other
chown เป็นการเปลี่ยนมือเจ้าของ
chgrp เป็นการเปลี่ยนกลุ่ม
mount เป็นคำสั่งที่เมาท์อุปกรณ์ หรือพาร์ติชั่น
โดยมีรูปแบบดังนี้ mount options device directory
umount เป็นการยกเลิกการเมาท์
fsck เป็นการตรวจสอบไฟล์ หรือย่อจาก File System Checking
df เป็นคำสั่งที่ดูเนื้อที่ว่างบนระบบไฟล์ที่เมาท์
du เป็นการดูเนื้อที่ว่างบนไดเรคทรอรี่ที่ใช้อยู่
ps แสดงงานที่เปิดอยู่ หรือกระบวนการที่ทำงาน
kill เป็นคำสั่งที่ยกเลิกการทำงานของกระบวนการ
logout เป็นคำสั่งที่ออกจากระบบ ใช้ได้ต่อเมื่ออยู่ใน Shell
free เป็นการแสดงสถานะของเมมโมรี่ และเนื้อที่ว่างบนเมมโมรี่ ทั้งกายภาพ
ที่ใช้ ใน swap, และบัฟเฟอร์
mke2fs เป็นคำสั่งฟอร์แมตดิสก์พร้อมใส่ระบบไฟล์ไปด้วย
lpr เป็นการส่งงานพิมพ์จากเครื่องลูกข่าย
top เป็นคำสั่ง Monitor System

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น